เมนู

3. อลัมพุสาชดก



ว่าด้วยอิสิสิงคดาบส ถูกทําลายตบะ



[2478]

(พระศาสดาตรัสว่า) ครั้งนั้น พระอินทร์
ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำวัตรอสูร เป็นพระบิดา
แห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา
รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสาเทพกัญญาเข้ามาเฝ้า.

[2479] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) ดูก่อนนาง
อลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลสสามารถจะเล้าโลมฤาษีได้
เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ ขอร้องเจ้า
เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.
[2480] ดาบสองค์นี้ มีวัตรประพฤติพรหม-
จรรย์ ยินดียิ่งในนิพพานเป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลย
พวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.

[2481] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่พระเทวราช
พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉัน
เท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้า
จงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้อื่น ๆ ก็มีอยู่.
นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน หรือประเสริฐ
กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก
มิได้ วาระคือการไป จงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.

[2482] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) เจ้าพูดจริง
โดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่น ๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า
และยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความโศกมิได้.
ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงานทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง
เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ
บำเรออย่างที่เจ้ารู้.
ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่า
เจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบส
นั้นมาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณ และรูปร่างของเจ้าเอง.

[2483] (นางอลัมพุสาทูลว่า) หม่อมฉันอัน
ท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่หม่อมฉัน
กลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น เพราะท่านเป็น
พราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.
ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤาษีแล้ว
ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะความหลง เพราะเหตุ
นั้น หม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.

[2484] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา
เทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส
ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่
อิสิสิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบ
ประมาณกึ่งโยชน์.

นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาด
โรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า

[2485] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เธอเป็นใครหนอ
มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองามดังดาวประกายพรึก
มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี
และกุณฑล.
ประหนึ่งแสงพระอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์
ผิวพรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยามากมาย
กำลังแรกรุ่น สะคราญโฉม น่าดูน่าชม.
เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด
ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกรายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจ
ของเราให้วาบหวามได้ทีเดียว.
อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วย
งวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา
ดังแผ่นทองคำ.
นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอก-
อุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชันเขียว.
ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ซึ่งทรงไว้ซึ่ง
ขีรรสไม่หดเหี่ยว เต่งตั้งทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำเต้า
ครึ่งซีก.
คอของเธอประดุจเนื้อทราย ขาวคล้ายหน้า-
สุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะ
ที่ 4 คือ ชิวหา.

ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้
ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.
นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดูดำขลับ มีสีแดงเป็น
ที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.
ผมที่งอกบนศีรษะของเธอไม่ยาวนัก เกลี้ยง-
เกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้ง ด้วยกลิ่น
จันทน์.
กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และ
ความบากบันของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ
มีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้น
ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร
หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร ?

[2486] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดูก่อนท่าน
กัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่
ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสอง
จักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจัก
เคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาด ในกระบวนความ
ยินดี ด้วยกามคุณ.

[2487] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพ-
อัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส
ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้
แล้ว ก็หลีกไป.

[2488] ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไป
โดยเร็ว สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้าก็
จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้.
นางเทพอัปสร ผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมา
สวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจาก
พรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา
ภายหลัง นางเทพอัปสรก็มีใจยินดี.
ระลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน
ท้าวมฆวาฬเทพกุญชร ทรงทราบความดำริของนาง
แล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวาร
มาโดยพลัน.
ทั้งผ้าปิดทรวง 50 ผืน เครื่องลาด 1,000 ผืน นาง
อลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก
บนบัลลังก์นั้น.
นางโอบกอดไว้ถึง 3 ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น
พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้ว รู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป3ปี.
ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัด
ใบใหม่ ดอกบาน อึงมี่ด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.
เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน
ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไร
บันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.
ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเรา
ด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดช

ของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็ม
ไปด้วยรัตนะต่าง ๆ ในห้วงอรรณพฉะนั้น.

[2489] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดิฉันอันท้าว-
เทวราชทรงใช้มา เพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิต
ของท่าน ด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกตัว เพราะ
ประมาท.

[2490] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เดิมทีท่านกัสสปะ
ผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ
สตรีอันเสมอด้วยนารีมีผลอยู่ เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.
บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า
มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จัก
สตรีเหล่านี้.
เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เรา
ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้.
เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตาย
เสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.

[2491] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา
เทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียร และปัญญาอันมั่นคง
ของพระอิสิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของ
พระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย
ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้

โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้ก่อประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อ
เทวดาชั้นไตรทศ ผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมด
อันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.

[2492] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) ดูก่อนนางผู้เจริญ
ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศและ
เธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อนนางเทพกัญญา เชิญเธอ
ไปตามสบายเถิด.

[2493] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพ-
กัญญา ซบศีรษะลงแทบเท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำ
ประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.
นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร
เครื่องปิดทรวง 50 ผืน และเครื่องลาด 1,000 ผืน
แล้วกลับไปในสำนัก แห่งเทวดาทั้งหลาย.
ท้าวสักกะจอมเทพ. ทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้ม
พระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่ง
กำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะ
สายฟ้าแลบฉะนั้น.

[2489] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่ท้าวสักกะ
ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะทรงประทาน-
พร แก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันต้องไป
เล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉัน
ขอพรข้อนี้.

จบอลัมพุสาชาดกที่ 3

อรรถกถาอลัมพุสาชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการประเล้าประโลมของนางปุราณทุติยิกาตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อถาพฺรวิ ดังนี้. เรื่องในปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้อย่างพิสดาร
ในอินทริยชาดกแล้วแล.
ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเป็นผู้กระสัน
อยากสึกจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับเป็นคำสัตย์แล้ว ตรัสถามว่า ใครทำ
ให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางปุราณทุติยิกา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงนี้ก่อความฉิบหายแก่เธอ เธออาศัยหญิงนี้ ยังฌานให้พินาศ เป็นผู้หลงใหล
สลบนอนอยู่สิ้น 3 ปี ต่อเมื่อเกิดสำนึกได้ จึงเกิดปริเวทนาอย่างใหญ่หลวง แล้ว
ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว
ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์แล้วบวชเป็นฤๅษี มีมูลผลาผลในป่าเป็น
อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง. ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่ง เคี้ยวกินหญ้า
อันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ. และด้วย
เหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่
นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดู
ก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์. พระมหาสัตว์จึงเลี้ยง
ทารกนั้นไว้ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสองคกุมาร. ในเวลา
ต่อมา พระมหาสัตว์ จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชรา